ข้อมูลโรงพยาบาล

โรงพยาบาลท่าวุ้ง เป็นโรงพยาบาลคุณภาพที่มีการพัฒนารูปแบบบริการอย่างต่อเนื่องภายใต้ทรัพยากร
ที่เหมาะสม และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

สภาพทั่วไป
 
อำเภอท่าวุ้งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดลพบุรี อยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำลพบุรี 
ห่างจากใจกลางเมืองลพบุรีประมาณ 11 กิโลเมตร
 
อาณาเขต
 
อำเภอท่าวุ้ง มีพื้นที่ประมาณ 242.83 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดอำเภอบ้านหมี่ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
ทิศใต้ ติดอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันออก ติดอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันตก ติดอำเภอเมือง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
 
ภูมิประเทศ
 
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำบางขามพาดผ่าน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ และมีน้ำท่วมเป็นบางปี
เหมาะสำหรับการทำเกษตรกรรม ทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีเทือกเขาสมอคอนตั้งอยู่
 
ประชากร
 
มีประชากรทั้งสิ้น 48,141 คน แยกเป็นชาย 23,097 คน หญิง 25,044 คน 17,429 ครัวเรือน 
ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 20.24 คนต่อตารางกิโลเมตร
อัตราการเกิด 0.77  ต่อร้อยประชากร
อัตราการตาย 0.17 ต่อร้อยประชากร 
 
เขตการปกครอง
 
แบ่งเขตการปกครอง ตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 แบ่งเป็นตำบลและหมู่บ้านดังนี้
อำเภอท่าวุ้งประกอบไปด้วย 11 ตำบล 128 หมู่บ้าน 17,429 หลังคาเรือนแยกรายละเอียดได้ดังนี้
 
เทศบาล 5 แห่ง คือ
 
1. เทศบาลตำบลท่าวุ้ง
2. เทศบาลตำบลท่าโขลง
3. เทศบาลตำบลโพตลาดแก้ว
4. เทศบาลตำบลโคกสลุด
5. เทศบาลตำบลบางงา
 
องค์การบริหารส่วนตำบล 7 แห่ง คือ
 
1. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าวุ้ง
2. องค์การบริหารส่วนตำบลบางคู้-ลาดสาลี่
3. องค์การบริหารส่วนตำบลบางลี่
4. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาสมอคอน
5. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเบิก
6. องค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง
7. องค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์

แผนที่อำเภอท่าวุ้ง

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าวุ้ง

นายแทพย์สันติ ลาภเบญจกุล

หัวหน้ากลุ่มงานทันตกรรม

ทญ.เจนจิรา กล่ำเดช

หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล

นางรัติยา พันธุ์สุข

หัวหน้ากลุ่มงานการจัดการ

นางสาววิไลวรรณ จันทะคัด

หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพยุทธศาสตร์ และสารสนเทศ ฯ

นายชาญวิทย์ คุ้มวงศ์

หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมและ
คุ้มครองผู้บริโภค

ภญ.อรชา วิใจเงิน

หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว
และบริการด้านปฐมภูมิ

นางนิโลบล ลิจุติภูมิ

หัวหน้ากลุ่มงานเทคนิคการแพทย์

นางพัชราภรณ์  นาควิจิตร

หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู

น.ส.ภัททิรา ทองศรี

หัวหน้ากลุ่มงานรังสีวิทยา

นางสมรัก ทองหยด

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าวุ้ง

นายแทพย์สันติ ลาภเบญจกุล

หัวหน้ากลุ่มงานทันตกรรม

ทญ.เจนจิรา กล่ำเดช

หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล

นางวีรวัลย์ ตันจรินทร์

หัวหน้ากลุ่มงานการจัดการ

นางสาววิไลวรรณ จันทะคัด

หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพยุทธศาสตร์ และสารสนเทศ ฯ

นายชาญวิทย์ คุ้มวงศ์

หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมและ
คุ้มครองผู้บริโภค

ภญ.อรชา วิใจเงิน

หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว
และบริการด้านปฐมภูมิ

นางนิโลบล ลิจุติภูมิ

หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู

น.ส.ภัททิรา ทองศรี

หัวหน้ากลุ่มงานรังสีวิทยา

นางสมรัก ทองหยด

วิสัยทัศน์ พันธกิจ เข็มมุ่ง

วิสัยทัศน์

เป็นโรงพยาบาลคุณภาพที่มีการพัฒนารูปแบบบริการอย่างต่อเนื่องภายใต้ทรัพยากรที่เหมาะสม และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ของประชาชน 

พันธกิจ

1. พัฒนารูปแบบบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ในระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิขั้นต้น
2. บริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เชื่อมโยงการดำเนินงานทุกภาคส่วน


เป้าประสงค์

1. ประชากรกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (HT/ DM) มีสุขภาพดีและดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม
2. ผ่านการประเมินการติดตามของ re-accreditation ครั้งที่ 4

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ประชากรกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (HT/DM)สามารถดูแลสุขภาพและจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
2. เพื่อให้ประชากรกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (HT/DM)เข้าถึงการบริการสุขภาพตั้งแต่ระดับปฐมภูมิจนถึงทุติยภูมิขั้นต้น
3. เพื่อให้มีการบูรณาการทุกภาคส่วนในการให้บริการแบบองค์รวมอย่างมีคุณภาพ
4. เพื่อให้ทุกหน่วยบริการผ่านมาตรฐานระดับ 3.5 ขึ้นไป

เข็มมุ่ง

1. ระบบบริการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (HT/DM)มีคุณภาพ 
2. จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยแบบครบวงจร(Intermediate ward/Palliative ward)
3. เพิ่มรายได้และลดรายจ่ายขององค์กร

ค่านิยม

ซื่อสัตย์ มีวินัย ใส่ใจ พอเพียง

นโยบายโรงพยาบาล

เพื่อให้ประชาชนชาวท่าวุ้งได้ยกระดับมีคุณภาพชีวิตที่ดีทางด้านสุขภาพ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าวุ้งได้ให้หลักเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาหรือปรับปรุงบริการให้มีคุณภาพมากขึ้นในสถานการณ์การแพร่ระบาด covid-19 แบบ next normal ดังนี้

1. ผลลัพธ์การจัดบริการที่เป็นเชิง out come ต้องดีขึ้นยึดผลลัพธ์ที่เป็นเชิง out come มากกว่า out putเช่น การพัฒนาระบบบริการ acute care ในโรคที่สำคัญ (stroke/STEMI/ Sepsis/ covid-19)การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (HT/DM) แบบไร้รอยต่อการพัฒนาระบบบริการ intermediate care การพัฒนาระบบบริการlong term care การพัฒนาระบบบริการ palliative care

2. ระบบบริการเป็นระบบที่ทำให้เกิดความพึงพอใจทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ(customer & provider happy)เช่น ปรับปรุงระบบคิวเข้ารับบริการของผู้ป่วย หรือ smart OPD, ปรับปรุงจุดพักคอยป้องกันความแออัดของผู้รับบริการ จัดทำเส้นทางให้กับผู้ป่วยนอกในสิทธิเบิกได้ให้ได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น การปรับปรุงห้องน้ำ OPD ใหม่เพื่อให้เพียงพอกับผู้รับบริการ การรักษาแบบใกล้บ้านใกล้ใจ (โครงการ 3 หมอ)

3. การปรับปรุงหรือพัฒนาบริการสามารถสร้างความมั่นคงด้านการเงินการคลัง (good finance) ให้กับโรงพยาบาลได้โดยการจัดบริการดังกล่าวต้องเป็นการจัดบริการหรือการลงทุนที่มีคุณค่าและสามารถสร้างความมั่นคงให้กับการเงินการคลังได้ เช่น การปรับปรุงงานบริการตึกผู้ป่วยใน ห้องพิเศษ การปรับปรุงอาคารเพื่อจัดบริการ intermediate care

4. ระบบบริการมีความปลอดภัย (safetyservice) ในโรงพยาบาลเช่น การรักษาระบบบริการให้มีความปลอดภัยทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการตามมาตรฐานด้วย HA และในสถานการณ์การแพร่ระบาด covid-19 โรงพยาบาลท่าวุ้งเน้นใช้มาตรการ D-M-H-T ที่สำคัญในการจัดบริการของโรงพยาบาล

โรงพยาบาลท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
15 กันยายน 2564

แผนยุทธศาสตร์ ปีงบประมาณ 2564

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนารูปแบบบริการสุขภาพเพื่อยกระดับคุณภาพของประชาชน (5 กลยุทธ์)

    1. สร้างรูปแบบบริการให้ผู้รับบริการ สามารถเข้ารับบริการได้ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย
    2. สร้างรูปแบบบริการ NCD(DM/HT)
    3. สร้างรูปแบบบริการเครือข่ายบริการ (PCC)
    4. สร้างบริการสุขภาพที่ผู้รับบริการได้ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ HA
    5. สร้างกิจกรรมบริการเด่นๆในทุกกลุ่มงาน (Aging/ANC/เด็กก่อนวัยเรียน/ Intermediate/Palliative/TB)

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทักษะตามรูปแบบบริการอย่างมีประสิทธิภาพ (3 กลยุทธ์)

    1. สร้างเสริมบุคลากรให้มีความรู้ทักษะตามรูปแบบริการ (เก่ง)
    2. สร้างเสริมการพัฒนาทางจิตใจของบุคลากร (ดี)
    3. สร้างเสริมบุคลากรให้มีความสุขในการทำงาน (มีสุข)

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาความมั่นคงด้านการเงิน (3 กลยุทธ์)

    1. เพิ่มรายได้
    2. ลดรายจ่าย
    3. สร้างการบริหารการเงินการคลัง

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและการประเมินผล  (3 กลยุทธ์)

    1. พัฒนาคุณภาพระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (HA.IT.)
    2. พัฒนาศูนย์จัดการข้อมูลสารสนเทศ (Data Management)
    3. สร้างระบบการประเมินผลลัพธ์ตามแผนยุทธศาสตร์

โครงสร้างหน่วยงาน

ติดตามข่าวสาร

ติดตามเรา

สถิติผู้เข้าใช้งาน